Homeไม่มีหมวดหมู่ติดตั้ง WordPress มากกว่า 1 ตัวบนโฮสต์เดียวกัน

ติดตั้ง WordPress มากกว่า 1 ตัวบนโฮสต์เดียวกัน

วันก่อนผมได้รับงานมาครับ กะว่างานใหม่จะใช้ WordPress ทำ หลังจากที่ผมติดใจอยู่นาน
ก็เลยว่าจะติดตั้ง WordPress อีกสักตัวไว้สำหรับให้ลูกค้าได้ทดสอบรูปแบบเว็บ เนื้อหาต่างๆ
ผมจึงพยายามจะติดตั้ง โดยการสร้าง directory (folder) ใหม่ในพื้นที่โฮสต์ของผม
(ประมาณ https://www.framekung.com/test) และผมก็ทำการอัพโหลดไฟล์ WordPress
ทั้งหมดไปไว้ใน Directory ผลที่เกิดขึ้นก็คือ

มันขาว ถึงขาวมากๆ (นึกในใจว่า ทำไมมันไม่ขึ้นหน้าติดตั้งมาให้)

มันไม่มีอะไรเกิดขึ้นครับ ผมก็เข้าใจว่ามันเชื่อมต่อฐานข้อมูลไม่ถูกหรือเปล่า ก็เลยลองไปแก้
พอแก้ไปแก้มา หากมันผิด มันก็ขึ้นว่าเชื่อมต่อฐานข้อมูลไม่ได้

เรื่องนี้ผมก็เลยไปตั้งกระทู้ถามคนในเว็บบอร์ดจาก mambo.in.th และก็ twitter ถามหลายๆ
คนเหมือนกัน บ้างก็ให้ผมไปลบ .htaccess บ้าง ก็ลบแล้วครับ แต่มันก็ยังใช้งานไม่ได้

สุดท้ายมีวิธีแก้มาฝากครับ สำหรับคนที่จะทำ WordPress หลายๆตัว

1. ให้ไปแก้ไฟล์ config-sample.php แล้วก็แก้ข้อมูลตรงส่วนที่เป็นรายละเอียดต่างๆ
ที่มันไม่ไปตรงกับของเดิมครับ ถ้าเกิดจะใช้ฐานข้อมูลเดิมก็ไปแก้ในส่วนที่เป็น prefix

ส่วนตรงนี้ล่ะครับ ที่แก้ให้ตรงตามที่ใช้งาน ถ้าเป็น database ใหม่ ก็เปลี่ยนชื่อ database
ตรงส่วนที่เป็น DB_NAME (แต่ก็ต้องสร้างฐานข้อมูลใหม่ว่างๆ มาก่อนนะ)
define(‘DB_NAME’, ‘wordpressdb’);    // The name of the database
define(‘DB_USER’, ‘username’);     // Your MySQL username
define(‘DB_PASSWORD’, ‘password’); // …and password
define(‘DB_HOST’, ‘localhost’);    // 99% chance you won’t need to change this value
define(‘DB_CHARSET’, ‘utf8’);
define(‘DB_COLLATE’, ”);

ถ้าจะใช้ฐานข้อมูลเดิม ก็ไปแก้ตรง prefix ครับ บรรทัดนี้

$table_prefix  = ‘wp2_’;   // Only numbers, letters, and underscores please!

2. เปลี่ยนชื่อ config-sample.php เป็น config.php

แค่นี้ก็จะเด้งหน้า Install ที่เรารอคอยมานานแสนนานแล้วครับ

WordPress Installer
WordPress Installer

สรุป

ความเข้าใจของผมคือ จากประสบการณ์ที่เล่น CMS ตัวอื่นๆ ถ้าเกิดเราจะสร้างใหม่ขึ้นมาอีกอัน
แค่เราอัพโหลดไฟล์ที่ต้องการไปใน directory ใหม่ที่เราต้องการสร้าง พอเข้าไปใน directory นั้นๆ
มันก็จะขึ้นตัว Installer ของแต่ละอันมาให้เลย และให้เราไปปรับตอนที่เราติดตั้งว่าฐานข้อมูลอะไร
prefix เป็นอะไร แต่สำหรับ WordPress แล้วมันจะตรวจสอบก่อนครับว่า ฐานข้อมูลว่างหรือเปล่า
ถ้าฐานข้อมูลว่าง มันจึงจะขึ้นหน้า Installer มาให้

โอ้วว ลึกซึ้ง…

บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดตามเรื่องอื่นๆ