สวัสดีผู้อ่านบล็อกทุกท่านครับ หายหน้าหายตาไปหลายวัน เนื่องจากกิจกรรมก็ยังมีเข้ามาเรื่อยๆ
โดยเฉพาะล่าสุด วันที่ 20 สิงหาคม 2553 ก็มีกิจกรรมทัศนศึกษาที่ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม
ไบเทค บางนา ซึ่งเป็นงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2553 ครับ
หลังจากที่ปีที่แล้วผมเองก็มีโอกาสได้ไปงานนี้เช่นเดียวกัน แต่ปีนี้ย้ายมาจัดที่ไบเทคแล้ว ความรู้สึก
ก็คือ รู้สึกว่ามันแคบ ทำให้การเดินชมงานไม่ค่อยสะดวกครับ ผมเริ่มเดินทางมาชมงาน เวลา 11.00-
15.00 น. ผลก็คือ ช่วงเช้าๆ เที่ยงๆ นักเรียนเยอะมากครับ พอสัก 14.00 น. จะพอหายไปบ้างส่วน
หนึ่ง แต่สำหรับเวลาที่เหมาะที่สุดสำหรับบุคคลที่สนใจทั่วไป ก็คงเป็น 17.00 – 20.00 น.
ครับ โดยงานจะจัดจนถึงวันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม นี้
เข้าเรื่องเกี่ยวกับตัวงานครับ ปีนี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจหลายอย่าง การจำลองสถานการณ์ เช่นส่วนของ
วิกฤตโลกร้อน , ความหลากหลายทางชีวภาพ ก็สร้างความสนใจไม่น้อย แต่ในตอนแรกนี้ ขอประเดิม
ด้วยส่วนกิจกรรมที่คนในอินเทอร์เน็ตที่ไปงานนี้มา พูดถึงมากที่สุด นั่นก็คือส่วนของ นิติวิทยาศาสตร์
หรือ Forensic Science ครับ
นิติวิทยาศาสตร์ (Forensic Science) คือ
นิติวิทยาศาสตร์ คือ การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในทางกฎหมายครับ เนื่องจาก
การทำความผิด คดีต่างๆ เริ่มมีความซับซ้อนขึ้น จึงทำให้ต้องหาเทคนิคใหม่ๆ มาใช้ในการประกอบ
หลักฐานทางคดี เนื่องจากเดิมแต่ก่อนนั้นการใช้หลักฐานจากพยานไม่สามารถมีน้ำหนักเพียงพอ
ในการใช้ประกอบเป็นข้อมูลทางคดีได้ ครับ
กิจกรรมในบูธนิติวิทยาศาสตร์
เป็นที่น่าสนใจครับ เนื่องจากว่าในปีนี้กิจกรรมได้ออกแบบในลักษณะของสถาณการณ์จำลอง สถาน
ที่เกิดเหตุ ซึ่งคงหลักฐานชิ้นสำคัญๆไว้ ให้นักเรียนนำกระดาษบันทึกสิ่งที่สังเกตเห็นได้ ตรงนี้สนุกครับ
เพราะเราได้สังเกต แล้วก็วิเคราะห์ความน่าจะเป็นด้วย
นี่ก็เป็นหลักฐานที่ทิ้งเอาไว้ครับ เราได้ข้อมูลเราก็จะกรอกในใบเกมการ์ด
ก่อนที่ภายนอกก็จะมีป้ายนิเทศ ที่ให้ความรู้ด้านการตรวจสอบหลักฐานต่างๆ เช่น การนำข้อมูลจาก
เลือด เบื้องต้นก็คือ เราต้องตรวจสอบเลือดว่าเป็นเลือดคนหรือสัตว์ ก่อนที่จะค้นหาหมู่เลือด และ
รหัสทางพันธุกรรม นอกจากนี้รูปแบบของรอยเลือดในสถานที่เกิดเหตุก็มีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน
ครับ เช่น หากเลือดเป็นวงกลม ก็จะสรุปได้ว่าเลือดทำมุม 90 องศากับวัตถุ หากน้อยกว่านั้น ก็จะเป็น
วงรีแทนครับ
หนอนแมลงวันในที่เกิดเหตุ ก็บอกเวลาการตายได้
อ่านหัวข้อแล้วก็อึ้งครับ ตอนแรกผมก็ไม่คิดว่าเค้าจะนำมาใช้เป็นเกณฑ์สำคัญได้ด้วย แต่เรื่องนี้
สามารถอธิบายได้จากระยะต่างๆของแมลงวันครับ เนื่องจากเมื่อศพนั้นเน่าแล้ว เจ้าหนอนแมลงวัน
ก็จะมาทำการวางไข่ 24 ชม.หลังจากนั้น ก็จะกลายเป็นตัวหนอน หลังจากนั้นอีก 7 วัน จะเป็นดักแด้
และถัดจากนั้นอีก 7 วัน ก็จะกลายเป็นแมลงวันครับ ทำให้การสอบสวนสามารถรัดกุมเข้าไปอีกได้
เนื่องจากทำให้ลดผู้ต้องสงสัยลงไปอีกได้
หลังจากนั้นผมก็ต้องสรุปจากเกมการ์ดแล้วล่ะครับว่า ใครเป็นผู้ลงมือ โดยเบื้องต้นเค้าก็จะให้ข้อมูล
ของผู้ต้องสงสัยทั้งสามคน โดยผมเองก็มีคำตอบไว้ในใจแล้วล่ะครับ โดยเค้าจะเฉลยไว้ใน
Facebook ของงาน วันที่ 23 สิงหาคม ครับ
มีอีกหลายๆส่วนของงานที่น่าสนใจครับ กล้องผมอาจจะไม่ค่อยอำนวยเท่าไรในช่วงนี้ เนื่องจาก
เลนส์มันเสียเล็กน้อยครับ อาจจะทำให้บางภาพไม่ชัดบ้าง
อย่าลืมติดตามกันอีกครั้งในสาระดีๆจากงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
พบกันใหม่ตอนหน้า สวัสดีครับ 🙂
ข้อมูลเพิ่มเติม
– Facebook : มาแล้ว มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ปี 53
– เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2553