Homeรีวิวเกาหลีชีวิตประจำวันอบรมเทคนิคการเขียน Mind Mapping

อบรมเทคนิคการเขียน Mind Mapping

สองวันก่อนทราบข่าวจากโรงเรียน ว่าได้รับคัดเลือกให้ทั้งห้องได้เข้าไปฟังการอบรมเกี่ยวกับรูปแบบใหม่
ของการเขียนแผนผังความคิด (Mind Mapping) ซึ่งครั้งแรกก็รู้สึกดีใจเหมือนกัน เพราะเผื่อจะได้เอา
ไปประยุกต์ใช้อะไรได้บ้าง ก็เลยเตรียมกล้องถ่ายรูป เตรียมไปถ่ายกิจกรรมมาฝากครับ

เข้าหอประชุมไปครั้งแรก ก็ไปสังเกตเห็นป้ายโฆษณาปากกา และคำโฆษณาคำหนึ่ง ที่ว่า
สี ช่วยเพิ่มการจดจำได้ถึง 78%” แน่นอน สิ่งหนึ่งที่ผมเคยคิดไว้ตั้งแต่เมื่อวาน ก็คือ ของอย่างงี้มันคง
อยู่ดีๆไม่ลอยมาหาแน่นอน มันต้องมีข้อแลกเปลี่ยนอะไรสักอย่าง และนั่นก็คือ การโฆษณา

บริเวณหน้าเวที ก็จะมีเป็นเหมือนฐานแสดงผลิตภัณฑ์ และป้ายโฆษณา กับโน้ตบุ๊คที่เตรียมฉายสไลด์
อยู่หนึ่งเครื่อง ผมก็ไปนั่งหน้าๆ รอฟัง ว่าเขาจะโฆษณาผลิตภัณฑ์ได้กลืนกับรูปแบบของงานที่เขาว่า
จะอบรมเทคนิคการเขียน Mind Mapping หรือเปล่า

ส่วนบนเกริ่น เข้าเรื่องกันครับ

วิทยากรและสไลด์
วิทยากรและสไลด์

เริ่มจากแจกกระดาษให้แผ่นหนึ่ง กับปากกาครับ และก็เกริ่นเป็นกิจกรรมมาให้เล่น
จะให้จำข้อความ ลักษณะข้อความก็จะเป็นกลุ่มคำ เช่น เสาร์ , ก้างปลา สลับสีกัน ทั้งหมด 16 คำ
ให้เราจำ และเขียนลงในกระดาษให้มากที่สุด และหลังจากนั้นก็ให้จำลักษณะเดียวกัน
แต่ให้จำรูปภาพแทน จากการสำรวจในห้องก็พบว่า คนจำคำศัพท์จากการเห็นภาพได้มากกว่า

จึงเป็นที่มาว่า การเขียนแผนผังความคิด โดยมีสีสัน หรือ มีภาพ นอกเหนือจากเพียงตัวอักษร
จะช่วยให้เกิดความน่าสนใจและจดจำรายละเอียดได้มากยิ่งขึ้น

จากนั้นก็เข้าวิชาการครับ เล่าเรื่องสมองให้ฟัง ว่าแต่ก่อนการจดจำของคนเรา
จำได้น้อย เพราะไม่มีสื่อมากเท่าปัจจุบันให้จดจำหรือให้เห็นมาก และปัจจุบันคนเราใช้สมอง
ในการคิดน้อยกว่าอดีต

ภาพแสดงปริมาณการใช้สมองในการคิดของแต่ละปี (ไม่รู้เอาเกณฑ์ไหนวัดเหมือนกัน)
ภาพแสดงปริมาณการใช้สมองในการคิดของแต่ละปี (ไม่รู้เอาเกณฑ์ไหนวัดเหมือนกัน)
ปัจจุบันเราใช้ไปเพียงเท่านี้ ทำให้มีพื้นที่อีกเยอะในการจดจำสิ่งต่างๆ
ปัจจุบันเราใช้ไปเพียงเท่านี้ ทำให้มีพื้นที่อีกเยอะในการจดจำสิ่งต่างๆ

ถัดจากนั้น ก็เข้าเรื่องของ การเขียนแผนผังความคิด (Mind Mapping) มีหลายๆเรื่องที่น่าสนใจ
เช่นกัน บางอย่างก็เคยทราบมาแล้วครับ แต่บางอย่างก็ไม่เคยทราบเช่นกัน

เช่นเรื่องของ การเขียนแผนผังความคิด จะไม่มีการเขียนกรอบใดๆทั้งสิ้น แต่จะเป็นการค่อยๆ
แผ่ความคิดเสียมากกว่า ดังตัวอย่าง โดยมีองค์ประกอบหลัก อาจจะใช้เป็นภาพเป็นแก่นกลาง
และปลีกย่อยที่เป็นหัวเรื่องย่อยลงมา จะเรียกว่า “แก่นแกน” และย่อยลงไปอีกที่เป็นประเด็น
หรือหัวข้อรองลงมา จะเรียกว่า “กิ่งแก้ว” และย่อยจากหัวข้อ จะเรียกว่า “กิ่งก้อย

คนที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรการเขียน Mind Mapping ก็คือคุณ Tony Bozan
และผู้ที่มีสิทธิ์ในการเผยแพร่แนวทางการเขียน Mind Mapping ในประเทศไทย คนแรก
ก็คือ อ.ธัญญา-ขวัญฤดี ผลอนันต์ ซึ่งหลังจากนั้น ผมก็ได้ไปเจอหนังสือเล่มหนึ่ง
ที่ผมซื้อเก็บไว้ตอนประถม คือหนังสือ “เทคนิคเรียนดี” ของสำนักพิมพ์ รักลูก บุ๊คส์
ก็มีบทความของอ.ธัญญา ในหนังสือ ในหัวข้อ คิดเก่ง ทำได้ ด้วย mind map ด้วย
รายละเอียดค่อนข้างน่าสนใจครับ ลองหามาอ่านดูนะครับ

ตัวอย่างการเขียนแผนผังความคิดที่ถูกต้อง
ตัวอย่างการเขียนแผนผังความคิดที่ถูกต้อง

ก็มีหลายๆส่วนที่เป็นจุดขายของการประชาสัมพันธ์สินค้า มากกว่าการนำเสนอ ผลิตภัณฑ์
ตรงๆครับ จริงๆแล้วอาจจะมีผลงานวิจัยอีกหลายชิ้น ที่เหมาะสมกับสินค้าและบริการ
สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ กลุ่มเป้าหมายต้องชัดเจน เหตุที่หลายๆคนสนใจ เพราะเป็นกลุ่ม
นักเรียน ที่สนใจเรื่องของการเรียนให้ได้ผลอยู่แล้ว ถามว่า หากขึ้นประเด็นด้วยคำว่า
“ฝึกเขียน Mind Mapping อย่างถูกวิธี ช่วยให้จำได้มากขึ้นถึง 78%” ก็ดูจะน่าสนใจ
ตรงกลุ่มเป้าหมาย นักเรียนที่เตรียมตัวสอบ หรือกำลังเรียนด้วย

ประเมินงานนี้แล้ว ไม่มองเป็นเรื่องการค้ามากเท่าไรครับ อยู่ในเกณฑ์ที่พอรับได้
บางครั้งหากเราต้องการจะเปิดรับอะไรบางอย่าง ก็ต้องยอมรับในข้อเสียบางอย่างด้วยล่ะ

ของฟรี ไม่มีในโลก !!

บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดตามเรื่องอื่นๆ