สอบกลางภาค
เหตุที่ตั้งชื่อเรื่องเป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ผมเพิ่งจะผ่านสอบกลางภาคมาหมาดๆครับ โรงเรียนนี้ไม่มี
สอบกลางภาคสำหรับเด็กม.ต้น พอมาอยู่ม.ปลาย ก็จะมีสอบกลางภาค และปีนี้ก็เป็นปีแรกจาก
ไม่รู้ว่ากี่ปี ที่มีการจัดสอบกลางภาคทุกระดับชั้น และมีข้อสอบอัตนัย เป็น 30% ของข้อสอบ
วันนี้กลับจากทำงานที่โรงเรียนก็ไปเรียน Enconcept หลังจากที่ปิดยาว จากนโยบายของรัฐบาล
ป้องกันไข้หวัดใหญ่ฯ 2009 พอมาเรียนวันนี้ก็มี big surprise ที่มีการสัมภาษณ์นักเรียนที่สอบได้
คะแนน GAT ครั้งที่แล้วที่ 1 ของประเทศ และคะแนนสูงๆ
ประเด็นที่สำคัญคือ แนวคิดของแต่ละคนสอดคล้องกับชีวิตในประจำวันของตัวเรามาก อยากให้
ลองฟังกันดูครับ คัดสรรที่ชอบๆมา
การจัดเวลาอ่านหนังสือ
เท่าที่ฟังแต่ละคน จะค่อนข้างไม่ได้เคร่งครัดอะไรมาก ในการให้เวลาและความสำคัญกับการเรียน
แต่อาศัยการเก็บเล็กเก็บน้อยและสร้างสภาพแวดล้อมให้กับตัวเองในการอ่าน อ่านให้บ่อยๆ
นักเรียนคนหนึ่งที่กล่าวว่า เขาอยากให้นิยามเรื่องของการเรียนรู้ว่า แบ่งเป็นสองคำคือ
Learn : ที่หมายถึงเรียนรู้ จากการเรียนพิเศษก็ดี เหมือนเป็นการเก็บเนื้อหาแล้วขั้นหนึ่ง
Study : คือการศึกษา จากการทำโจทย์เองก็ดี มันก็ทำให้ได้ผ่านการฝึกฝน
ถ้าเรานำแต่คำว่า Learn คือ ขยันเรียนรู้ เรียนพิเศษเนี่ย ก็จะได้เพียงบางส่วนที่ช่วยให้เราสอบได้
เทคนิคจำระยะยาว
มีกรณีศึกษาอีกคนหนึ่ง ที่เขาบอกว่าเขาพยายามเรียนเนื้อหาทุกอย่างให้จบภายในม.5 เพื่อม.6
จะได้เตรียมตัวสอบให้เต็มที่ จึงเกิดคำถามที่ว่า “ความจำระยะยาวเขามีวิธีจัดการอย่างไร เพราะ
เขาต้องแบกรับมันไปอีกปี” คำตอบที่น่าสนใจคือ ยกตัวอย่างวิชาภาษาอังกฤษ หากเขาไม่อ่าน
หนังสือ เขาใช้วิธีการดูหนังฟังเพลง ที่เป็นภาษาอังกฤษ ทำให้เขาเห็นรูปประโยคบ่อยๆ ดังนั้น
เวลาทำข้อสอบ หากข้อนี้มันทำไม่ได้จากที่เราอ่านมา ก็ให้อาศัยความคุ้นเคยต่อประโยคที่เรา
อาจจะเห็นผ่านหูผ่านตามา
“ความกดดัน” สิ่งที่เด็กก่อนสอบมีทุกคน
อีกเรื่องคือเรื่อง “ความกดดัน” ใครๆก็ต้องมีทุกคนก่อนสอบ แต่พี่ๆที่มาแนะแนว ใช้คำว่า ความ
กดดันต้องมีที่มาที่ไป และสาเหตุ อาจจะเกิดจากการกดดันตัวเองหรือเปล่า ? บางครั้งหากยึด
ผลลัพธ์เป็นที่ตั้งก็อาจจะทำให้เราคาดหวังกับตัวเองและเกิดการกดดันได้ อาจจะให้ลองเปลี่ยน
แนวคิดจากการกดดันตัวเอง เป็นการคิดว่า “เราต้องทำได้ ทำได้เท่าไรเอาออกมาให้หมด”
หากมันไม่ได้ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้แต่เราก็ได้ความคิดที่ว่า “เราก็ได้ทำมันดีที่สุดและเต็มที่กับมันแล้ว”
สุดท้ายที่ชอบมากคือ การจัดเวลาอ่านหนังสือ ให้เราอ่านเก็บเล็กผสมน้อยไปในแต่ละวัน คนไหน
ที่มีความสามารถในการจัดเวลาอ่านหนังสือ หากทำได้ก็จะเป็นประโยชน์ แต่หากทำไม่ได้ ให้ใช้
ความพยายามเท่าที่ทำได้ และควบคุมด้วยในขณะเดียวกัน
“พอ” สำหรับการอ่านหนังสือ
คำว่า “พอ” เวลาที่ใช้ในการอ่านหนังสือ ให้พอเวลาที่เราคิดว่าเราทำมันเต็มที่แล้ว หรือสุดความ
สามารถของเราในวันนี้ ไม่ใช่เป็นการ”พอ“เพื่อไปทำสิ่งๆอื่น และอย่าให้คนอื่นมาวัดความเป็น
คุณค่าของตัวเรา
หวังว่าจะเป็นการรวมแนวคิดที่อาจจะใช้เวลาที่จะสอบก็ได้ครับ ฟังแล้วก็รู้สีกได้แรงบันดาลใจดีๆ
ถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้สอบ GAT-PAT เหมือนกับรุ่นพี่และจะผ่านสอบกลางภาคมาแล้วก็ตาม
เป็นกำลังใจให้รุ่นพี่ทุกคนครับ สู้ๆ